วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กฏหมายการเกณฑ์ทหาร




การ เกณฑ์ทหารในประเทศไทยในปัจจุบัน อาศัยความตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดให้ชายไทยทุกคนมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหาร และยังเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย ขั้นตอนการเกณฑ์ทหารเริ่มต้นจากการลงบัญชีทหารกองเกินของชายไทยไว้ก่อน และจะมีการเรียกผู้ที่ลงบัญชีไว้มาตรวจเลือกเอาคนที่ทางทหารเห็นว่าเหมาะสม ไปตามจำนวนที่ต้องการเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการ

ชายไทยจำนวน มากไม่ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารเพราะผ่านการเรียนรักษาดินแดนครบสามปี ส่วนผู้ที่ไม่ได้เรียนรักษาดินแดนหรือเรียนไม่ครบตามกำหนดหลักสูตรและไม่มี ข้อยกเว้นอย่างอื่นต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือก ผู้ที่ศึกษาอยู่ หรือ ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ และผู้ที่กฎหมายเห็นว่ามีเหตุอันสมควร จะสามารถไม่ต้องไปรับการตรวจเลือก หรือ ไปรับการตรวจเลือกแต่ได้รับการผ่อนผันและแต่กรณีซึ่งมักเป็นรายละเอียดปลีก ย่อยที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 50 ปีของการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

เนื่อง จากกฎหมายทหารมีความซับซ้อนและมีกฎกระทรวงจำนวนมากออกมาแก้ไขกฎกระทรวงเก่า หรือยกเลิกกฎกระทรวงเก่าเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่เข้าใจขั้นตอนการเกณฑ์ทหารหลง เชื่อมิจฉาชีพซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหารหรือฝ่ายปกครองเองยอมจ่าย สินบนเพื่อเป็นการตอบแทนในการช่วยให้พ้นจากการรับราชการทหาร

มีบุคคล บางจำพวกที่ไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติสามประเภท ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการยกเว้น และบุคคลที่ไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก สองประเภทนี้ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกเลย ส่วนบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันต้องเข้ารับการตรวจเลือกทุกปี


บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการ [14] ได้แก่

(1) พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์

(2) คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้

(3) บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


บุคคลที่ได้รับการยกเว้น เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกรับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ [15] ได้แก่

(1) พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง

(2) นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้

(3) บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร

(4) นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม

(5) ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้

(6) นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ

(7) นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม


บุคคลที่ไม่เข้ารับการตรวจเลือกก็ไม่ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนการตรวจเลือก [16] ได้แก่

(1) ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการ อันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง

(2) นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(3) ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม

(4) บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม

(5) เกิดเหตุสุดวิสัย

(6) ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น

(7) ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก

กรณี ตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องได้รับการผ่อนผันเฉพาะคราวจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย


บุคคลที่ได้รับ การผ่อนผัน ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก ถ้ามีจำนวนทหารกองเกินที่จะรับราชการเป็นทหารกองประจำการได้มากกว่าจำนวนที่ ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันแก่บุคคลดังต่อไปนี้ [17]

(1) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกัน คงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณา ผ่อนผันให้หนึ่งคน

(2) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่หรือน้องนั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู

(3) บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

ผู้ อ้างสิทธิตาม (1) หรือ (2) แห่งมาตรานี้ ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกเข้ากองประจำการไม่ น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีพิเศษซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ร้องและผู้ร้องต้องร้องต่อคณะ กรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกตามมาตรา 30 อีกครั้งหนึ่ง นายอำเภอต้องสอบสวนหลักฐานไว้เสียก่อนวันตรวจเลือก เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้ตัดสินได้ทันที การขอผ่อนผันตาม (3) ให้แจ้งผ่านทางสถานศึกษา

ถ้าไม่สามารถจะผ่อนผันพร้อมกันทั้งสาม ประเภทได้ เพราะจะทำให้คนไม่พอจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันคนประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 รวมกันก่อน ถ้าคนยังเหลือจึงผ่อนผันคนประเภทที่ 3 ถ้าจำนวนคนในประเภทใดจะผ่อนผันไม่ได้ทั้งหมดต้องให้คนประเภท

กฏหมายอาญา




กฎหมาย อาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติ นั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
ทุก สังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ

1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
3. กักขัง 4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี

กฏหมายแพ่ง




กฎหมายแพ่ง
(Civil law) เป็นกฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพันระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิด เอกเทศสัญญา ทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก

1.1 การหมั้น เป็นการที่หญิงชายตกลงทำสัญญาว่าจะทำการสมรสกัน การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบทรัพย์อันเป็นของหมั้นให้แก่ฝ่าย หญิง แต่ในการสมรสนั้นไม่ได้บังคับว่าจะมีการหมั้นก่อน แต่ถ้าหมั้นก็จะมีผลผูกพันกัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องปฎิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการหมั้น เช่น ของหมั้นจะตกเป้นสิทธิแก่หญิงทันที เมื่อมีการหมั้นแล้ว ไม่ว่าชายหรือหญิงตาย ฝ่ายหญิงก็ไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายเป็นต้น
เกณฑ์ การหมั้นตามกฎหมายนั้น คือ ชาย หญิงจะหมั้นต้องมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงจะมีอำนาจที่จะทำการหมั้นได้โดยลำพังตนเอง แต่ถ้ามีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์จะทำการหมั้นได้ต้องมีพ่อแม่หรือผู้ปกครองยินยอมก่อน เป็นต้น
การ หมั้นที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้นั้นถือเป็นโมฆะ เหตุที่กฎหมายกำหนดอายุของหญิงและชายไว้ ก็เพราะการหมั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของชายและหญิง เมื่อจะทำสัญญาหมั้นกันจึงควรให้ชายและหญิงที่จะหมั้นอยู่ในวัยที่จะรู้ เรื่องการหมั้นได้ตามสมควร กฎหมายถือว่าชายหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ ไม่อยู่ในวัยที่จะรู้เรื่องการหมั้น การสมรส แม้บิดามารดาจะยินยอมก็ตามเ


1.2 การรับรองบุตร เป็นการให้การยอมรับบุตรซึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นภรรยาโดยมได้จดทะเบียนสมรส ซึ่งเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของหญิง แต่เป็นบุตรนอกกฎหมายของชาย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้ชายจดทะเบียนรับรองบุตร ซึ่งจะทำให้เด็กเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ชายจดทะเบียน แต่ถ้าเป็นบุตรนอกสมรสแต่ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ต้องจดทะ เบียบรับรองบุตรอีก การจดทะเบียนบุตรมี 2 วิธี คือการรับรองบุตรด้วยความสมัครใจของชายผู้เป็นบิดา และการรับรองบุตรโดยคำพิพากษาของศาลให้เด็กผู้นั้นเป็นบุตรของชายผู้เป็น บิดา

1.3 กฎหมายแพ่งเกียวกับมรดก
กฎหมาย แพ่งเกี่ยวกับมรดกกำหนดว่าเมื่อบุคคลใดตาย และทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่ผู้ตายระบุไว้ในพินัยกรรม หากไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกทอดแก่บุคคลที่เป็นทายาทและคู่สมรส
กองมรดก ได้แก่ ทรัพย์ทุกชนิดของผู้ตาย รใมทั้งสิทธิและหน้าที่ ตลอดทั้งความรับผิดชอบต่างๆเกี่ยวกับทรัพย์สิน เป็นต้นว่าหนี้สิน เว้นแต่กฎหมาย หรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้ เช่นสิทธิในการเข้าสอบ หรือสิทธิในการมีอาวุธปืน การตายของเจ้าของมรดกมีความยหมาย สองกรณี คือตายหรือสิ้นชีวิตไปตามจริงตามใบมรณบัตร หรือศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ บุคคลที่จะได้รับมรดกของผู้ตายได้แก่ ทายาท วัด แผ่นดิน บุคคลภายนอกนี้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายเลย
ทายาทแบ่งออกเป็นสองประเภท

1. ทายาทโดยธรรม เป็นทายาทตามสิทธิกฎหมาย ได้แก่ ญาติ และคู่สมรส และทายาทที่แบ่งออกเป็นหกชั้นคือ
1.1 ผู้สืบสันดาน
1.2 บิดามารดา
1.3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
1.4 พี่น้องที่ร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
1.5 ปู่ย่า ตายาย
1.6 ลุง ป้า น้า อา
2.ผู้ รับพินัยกรรม พินัยกรรม ได้แก่ คำสั่งยกทรัพย์สินหรือแบ่งทรัพย์สิน หรือวางข้อกำหนดใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเมื่อตายไปแล้ว หรือกรณีอื่นๆที่กฎหมายรับรองมีผลเมื่อตายไปแล้ว เช่น การตั้งเป็นผู้ปกครองเด็ก เป็นต้นและต้องทำให้ถูกกฎหมายกำหนดไว้ด้วย จึงจะมีผลเป็นพินัยกรรมตามกฎหมาย ผู้รับพินัยกรรม ได้แก่ ผู้ที่มีชื่อระบุไว้ในพีนัยกรรม

รัฐสภาไทย



รัฐสภา ของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับ แรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์ นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมาเมื่อจำนวนสมาชิก รัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการ ใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
-หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
-หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
-หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถาน ที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐส

รัฐบาลไทย(รัฐมนตรี)


คณะที่ 59 (17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน) หรือเป็นที่รู้จักกันในนาม คณะรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ 1 (ครม. อภิสิทธิ์ 1)
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศพระบรมราชโองการ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธยในประกาศ โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ และในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี โดยมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
รายชื่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาลอภิสิทธิ์นายกรัฐมนตรี : นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ


รองนายกรัฐมนตรี : นายสุเทพ เทือกสุบรรณ, นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ, พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์


รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี : นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย, นายวีระชัย วีระเมธีกุล


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง : กรณ์ จาติกวณิช


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง : นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์, นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์


รัฐมนตรี่ว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นางพรทิวา นาคาสัย จากพรรคภูมิใจไทย


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ : นายอลงกรณ์ พลบุตร


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม : พล. อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ


รัฐมนตรีการท่องเที่ยวและกีฬา : นายชุมพล ศิลปอาชา


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ : นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์, นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย : นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์, นายถาวร เสนเนียม


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน : นายไพฑูรย์ แก้วทอง


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : คุณหญิงกัลยา โสภณพานิชรั


ฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน : นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร : นายธีระ วงศ์สมุทร


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร : นายชาติชาย พุคยาภรณ์


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม : นายธีระ สลักเพชร


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ : ร.ต.หญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี จาก พรรคเพื่อแผ่นดิน


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ : นายวิฑูรย์ นามบุตร


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม : นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม : นายโสภณ ซารัมย์


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม : นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ, นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ : นายกษิต ภิรมย์


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : นายสุวิทย์ คุณกิตติ


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม : นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายวิทยา แก้วภราดัย


รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข : นายมานิต นพอมรบดี


เลขาธิการนายกรัฐมนตรี : นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ


ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี : นายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์

ศาลยุติธรรม (The Court of Justice)


ศาลยุติธรรม (The Court of Justice)


เป็น ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่นศาล ยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ
ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่นศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลายศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาล ยุติธรรมอื่นศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณา คดีอาญา แล้วแต่กรณีศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาล ยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียวศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร
มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์ คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดย ตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) ศาลฎีกามีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุม ใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัย โดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติ หน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดองค์คณะ พิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุม ใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการ จัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมดศาลฎีกามี แผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 11 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน โดย
แผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 10 แผนก ได้แก่
แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว
แผนกคดีแรงงาน
แผนกคดีภาษีอากร
แผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
แผนกคดีล้มละลาย
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
แผนกคดีพาณิชย์และเศรษฐกิจแผนกคดีสิ่งแวดล้อม
แผนกคดีผู้บริโภคแผนกคดีเลือกตั้ง
แผนกคดีที่ศาลฎีกาแบ่งเป็นการภายใน 1 คือ
แผนกคดีปกครอง

กาาจัดระเบียบทางสังคม





การ จัดระเบียบทางสังคม หมายถึง กระบวนการทางสังคมที่จัดขึ้นเพื่อควบคุมสมาชิกให้มีความสัมพันธ์กันภายใต้ แบบแผนและกฎเกณฑ์เดียวกัน เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
สาเหตุที่ต้องจัดระเบียบทางสังคม
1. เพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์กันทางสังคมเป็นไปอย่างเรียบร้อย
2. เพื่อป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม
3. ช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุขและมั่นคงในสังคม
องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
1. บรรทัดฐานของสังคม
2. สถานภาพ
3. บทบาท
4. การควบคุมทางสังคม
กระบวนการจัดระเบียบทางสังคม ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ
1. บรรทัดฐานทางสังคม หมายถึง มาตรฐานที่คนส่วนใหญ่ในกลุ่มยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ได้แก่ กฎ ระเบียบ แบบแผนความประพฤติต่าง ๆ
ประเภทของบรรทัดฐานทางสังคม
<1.> วิถีประชา หรือวิถีชาวบ้าน หมายถึง แนวทางการปฏิบัติของบุคคลในสังคมที่ยอมรับและปฏิบัติตามความเคยชิน
<2>. กฎศีลธรรม หรือจารีต หมายถึง ระเบียบแบบแผนที่สมาชิกในสังคมปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ซึ่งจะมีความสำคัญมากกว่าวิถีประชา หากฝ่าฝืนจะถูกสังคมประณามและลงโทษและมีเรื่องของศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วย
<3.> กฎหมาย หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้ควบคุมความประพฤติของคนใน สังคม ให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่กำหนดไว้
2. สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น หรือตำแหน่งที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคมและบุคคลเดียวอาจมีหลายสถานภาพ
ได้
ลักษณะของสถานภาพ
1. เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น เช่น อารีย์เป็นนักเรียน สมชาติเป็นตำรวจ เป็นต้น
2. บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ เช่น สมชาติเป็นตำรวจ เป็นพ่อและเป็นข้าราชการ
3. เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่นและสังคมส่วนรวม
4. เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างไรในสังคม
สถานภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สถานภาพที่ติดตัวมาโดยสังคมเป็นผู้กำหนด เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ เครือญาติ
2. สถานภาพที่ได้มาโดยความสามารถ ได้แก่ การประกอบอาชีพ การศึกษา การสมรส เช่น บิดา
3. บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามหน้าที่และการแสดง พฤติกรรมตามสถานภาพ
สถานภาพและบทบาทเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน
•สถานภาพเป็นตัวกำหนดบุคคลให้รู้จักหน้าที่และความรับผิดชอบ
•บทบาท เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและคาดหมายให้บุคคลกระทำการที่บุคคลมีหลายสถานภาพอาจ เกิดบทบาทที่ขัดกัน (Roles conflicts) หมายถึง การที่คนคนหนึ่งมีบทบาทหลายอย่างในเวลาเดียวกันและขัดกันเองทำให้ยากต่อการ ปฏิบัติตามบทบาทใด บทบาทหนึ่ง
การควบคุมทางสังคม แบ่งเป็น
1. การจูงใจให้สมาชิกปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคม เช่น การยกย่อง การชมเชย หรือการให้รางวัล
2. ลงโทษสมาชิกที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม เช่น ผิดวิถีชาวบ้าน การลงโทษคือตำหนิ ซุบซิบนินทา หัวเราะเยาะ ผิดกฎศีลธรรม ไม่คบหาสมาคม ผิดกฎหมายซึ่งการลงโทษจะมากหรือน้อยแล้วแต่การกระทำผิด กระบวนการขัดเกลาทางสังคม หมายถึง กระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มใหญ่เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี
ความมุ่งหมายของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ::
1. เพื่อปลูกฝังระเบียบวินัยแก่สมาชิกในสังคม
2. เพื่อปลูกฝังความมุ่งหวังที่สังคมยกย่อง
3. เพื่อให้สมาชิกในสังคมได้รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนตามกาลเทศะและความเหมาะสม
4. เพื่อให้สมาชิกในสังคมเกิดความชำนาญและเพิ่มทักษะในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ อื่นในสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการขัดเกลาทางสังคม 1. บรรทัดฐาน คือแบบแผน กฎเกณฑ์ ที่สังคมกำหนดแนวทางสำหรับบุคคลยึดถือและปฏิบัติ
2. ค่านิยม คือ แนวความคิด ความเชื่อ ที่บุคคลในสังคมเห็นว่ามีคุณค่าควรแก่การปฏิบัติ
3. ความเชื่อ คือ แบบของความคิดเกี่ยวกับตัวเราที่เกิดขึ้น มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม อาจเป็นเรื่องที่มีเหตุผลหรือไม่มีเหตุผล ความเชื่อที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่เบี่ยงเบนไปในทางเสียหาย ทำให้การแสดงพฤติกรรมเป็นไปในทางที่ดี จึงสำคัญต่อการจัดระเบียบทางสังคม
กลุ่มบุคคลที่มีบทบาทในการขัดเกลาทางสังคม
1. ครอบครัว
2. กลุ่มเพื่อน
3. โรงเรียน
4. กลุ่มอาชีพ
ความสำคัญของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม
1. เป็นหลักในการปฏิบัติที่ทุกคนต้องเรียนรู้คุณค่าของกฎเกณฑ์
2. เป็นวิธีการถ่ายทอดลักษณะวัฒนธรรม
3. เป็นกระบวนการที่มีอยู่ตลอดชีวิตของความเป็นมนุษย์